.: ข้อปฏิบัติเมื่อเลี้ยงสุนัขอเมริกันบูลลี่ใหม่ :.
 

 

เืมื่อนำสุนัขใหม่มาเลี้ยง ควรปล่อยให้สุนัขทำความคุ้นเคยไปรอบๆ บางตัวจะตื่นเต้นกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆทำให้ปวดอุจจาระและปัสสาวะ

        จึงควรฝึกหัดให้ถ่ายเป็นที่ตั้งแต่แรกๆ โดยจัดหาบริเวณที่ต้องการให้สุนัขถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ซึ่งอาจจะเป็นห้องส้วมหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของบ้านที่เห็นเหมาะสม เมื่อสุนัขกินอาหารเสร็จแล้วก็นำไปยังที่ที่จะให้ถ่ายเสมอ

        สุนัขที่เข้ามาใหม่ในวันแรกๆอาจจะตื่นเต้น ไม่ค่อยกินอาหารแต่จะกินน้ำ จึงควรมีภาชนะใส่น้ำวางไว้ให้สุนัขกินไม่ต่างจากที่เคยกินเมื่ออยู่กับเจ้าของเดิม อาหารที่ให้ควรมีลักษณะไม่ต่างจากที่เคยกินเมื่ออยู่กับเจ้าของเดิม จึงควรสอบถามเจ้าของว่าเคยเลี้ยงด้วยอะไร จำนวนเท่าไหร่ และบ่อยครั้งแค่ไหน การเปลี่ยนอาหารทันทีทันใดจะมีผลทำให้สุนัขท้องเสียได้ ปริมาณการให้อาหารควรให้ครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง

        ในวันแรกๆนั้นสุนัขยังแปลกสถานที่ จึงควรได้รับการเอาใจใส่เลี้ยงดูอย่างอบอุ่นจากเจ้าของ อย่าดุหรือทำเสียงดังกับสุนัข ควรฝึกหัดให้สุนัขนอนหรืออาศัยในกรงได้ทุกเวลาที่เจ้าของต้องการ บางครั้งเมื่อเจ้าของไม่ต้องการให้สุนัขออกมาเพ่นพ่านก็สามารถจับสุนัขขังกรงไว้ชั่วคราว โดยสุนัขไม่ขัดขืนหรือเห่าหอนให้เป็นที่รำคาญใจ กรงที่ให้นอนควรเป็นกรงที่มีความแข็งแรง ขนาดกว้างพอเหมาะ มีมุ้งลวดกันยุง มีหลังคาบังแดดบังฝนและสะดวกในการทำความสะอาด
        ถ้านำสุนัขเล็กๆเข้ามาในบ้าน วันแรกๆอาจเกิดปัญหาให้รำคาญบ้าง เพราะลูกสุนัขจะร้องคิดถึงแม่และพี่น้องที่เคยเล่นด้วยกันมา และเมื่อหิวก็จะร้อง ซึ่งแก้ไขได้โดยนำเอาเศษผ้าหรือสิ่งของที่เคยปูรองนอนจากที่เดิมมารองให้นอน เพราะลูกสุนัขจะจำกลิ่นได้และเข้าใจว่ายังอยู่ที่เิดิม และควรเลี้ยงลูกสุนัข 2 ตัว เพื่อเป็นเพื่อนกัน เพราะถ้าอยู่ตัวเดียวมันจะเหงา เจ้าของควรปลอบโยนบ้าง เพื่อช่วยให้มันคุ้นกับที่อยู่ใหม่เร็วขึ้น แต่ไม่ต้องถึงกับเอามันไปนอนด้วย
การสร้างภูมิคุ้มกันโรคและการถ่ายพยาธิ
        สุนัขใหม่ที่นำเข้ามาเลี้ยงนั้น ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคและถ่ายพยาธิให้ครบถ้วน เพื่อเป็นการสร้างภูิิมิุคุ้มกันโรคต่างๆและทำให้สุัันัขมีสุขภาพดี ในกรณีที่แม่สุนัขได้รับวัคซีนป้องกันโรคและถ่ายพยาธิมาแล้วก่อนผสม ภูมิคุ้มกันจากแม่จะอยู่ในตัวลูกสุนัขได้ไม่น้อยกว่า 2 เดือน จึงจะหมด ดังนั้น

        1. ถ้าลูกสุนัขที่มีภูมิคุ้มกันจากแม่ที่ได้รับการฉีดวัคซีนในระยะที่ภูิมิคุ้มกันยังไม่หมด ถ้าได้รับการฉีดวัคซีน วัคซีนใหม่ที่เข้าไปจะทำปฏิกิริยากับภูมิคุ้มกันเดิมที่มีอยู่และถูกทำลายหมดไป ทำให้ลูกสุนัขอยู่ในสภาพปราศจากภูิมิคุ้มกันโรคถ้าได้รับเชื้อ ก็จะเป็นโรคได้

        2. ถ้าลูกสุนัขไม่ได้รับการฉีดวัคซีน แต่แม่สุนัขเคยได้รับการฉีดวัคซีนก่อนผสม ลูกสุนัขจะมีภูมิคุ้มกันโรคที่ได้รับจากแม่จนอายุได้ 2 เดือน

        3. ถ้าลูกสุนัขได้รับการฉีดวัคซีน แต่แม่สุันัขไม่ได้รับการฉีดวัคซีนก่อนผสม ลูกสุนัขก็จะมีภูมิคุ้มกันโรคที่ได้จากการฉีดวัคซีน

        4. ถ้าลูกสุนัขไม่ได้รับการฉีดวัคซีน และแม่สุนัขก็ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนก่อนผสม ลูกสุนัขก็จะไม่มีภูมิคุ้มกันโรค

การฉีดวัคซีน
        เมื่อซื้อลูกสุนัขแล้วให้นำไปฉีดวัคซีนทันที วัคซีนที่ต้องฉีดคือ วัคซีนป้องกันไข้ขัดสุนัข วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ ปัจจุบันมีวัคซีนรวม ซึ่งสามารถป้องกันโรคได้ทั้ง 4 โรค และหลังจากฉีดวัคซีนครั้งแรกไปแล้ว 2 สัปดาห์ ให้นำสุนัขไปฉีดวัคซีนซ้ำอีกเป็นการกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันโรคสูงขึ้นร่างกายของสุนัขจะสร้างภูมิคุ้มกันสูงพอคุ้มโรคได้ เมื่อได้รับการฉีดครั้งที่ 2 ก็จะเกิดภูมิคุ้มกันโรคได้ ส่วนวัคซีนป้องกันโรคพิษสุันัขบ้า ให้ฉีดเมื่อสุนัขอายุ 3 เดือน และฉีดซ้ำทุกปี


การถ่ายพยาธิ
        การถ่ายพยาธิควรจะทำทันทีเมื่อซื้อสุนัขมาใหม่ เพราะสุนัขมักจะมีพยาธิ โดยเฉพาะพยาธิตัวกลมและพยาธิปากขอ ซึ่งพยาธิเหล่านี้จะอยู่ในลำไส้ของสุนัข และอาจเข้าสู่กระเพาะด้วย จะทำให้เกิดการแย่งอาหารจากสุนัขทำให้สุนัขแคระแกร็น โตช้า อาจจะชัก และตายได้ในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนั้น พยาธิเหล่านี้สามารถถ่ายทอดผ่านรกจากแม่มาสู่ลูกในท้องได้

        ดังนั้นเมื่อคลอดออกมาลูกสุนัขบางตัวอาจมีพยาธิตัวกลมอยู่ในลำไส้และเจริญ
เติบโตอย่างรวดเร็วพร้อมกับลูกสุนัข ทำให้ผอมแต่พุงโต ภายในลำไส้มีพยาธิเต็มไปหมด จนบางครั้งลำไส้อุดตันถึงกับทำให้ลูกสุนัขตายได้

        ดังนั้น การถ่ายพยาิธิให้กับลูกสุนัขจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก วิธีการถ่ายพยาธิที่ดีที่สุด คือการถ่ายพยาธิ 3 วันติดต่อกัน และเว้นช่วงไป 15 วัน แล้วถ่ายพยาธิซ้ำอีก 3 วัน หลังจากนั้นควรถ่ายพยาธิเดือนละครั้งทุกๆเดือนจะทำให้สุนัขปลอดพยาธิไปจนโต ส่วนพยาิธิภายนอก ได้แก่ เห็บ หมัด และไร พบได้บ่อยๆเช่นกัน การกำจัดอาจทำได้โดยวิธีเก็บออกจากตัวสุนัขโดยตรง และนำตัวดูดเลือดพวกนี้ไปแช่น้ำมัน อย่าบี้ให้แตก เพราะอาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของไข่ได้ นอกจากนี้อาจใช้สารเคมีคือยาฆ่าเห็บชนิดต่างๆโรยหรืออาบให้แก่สุนัข และปฏิบัติตามคำแนะนำในฉลากอย่างเคร่งครัด

โดยมากเมื่อลูกสุนัขอายุเกิน 4 เดือนไปแล้ว มักจะเลี้ยงรอด ช่วงที่สุนัขจะตายง่ายที่สุดคือ ช่วงอายุ 2 เดือน ถึง 3 เดือน

 
 









 
 
 
| HOME | MALES | FEMALES | BREEDINGS | PUPPIES | PHOTO GALLARY | WEBBOARD | LINKS |
Welcome to : http://www.tnt-kennel.th.gs E-mail contact : t_merlin9@hotmail.com Copyright 2006, TNT KENNEL. All Right Reserved.